รู้ทัน 6 อารมณ์ พื้นฐาน เพื่อเรียนรู้ตัวเองให้มากขึ้น
ทั่วไป 22 ก.ย 67

ในช่วงสถานการณ์ไม่ปกติที่ผ่านมา หลายๆ คน คงจะต้องกักตัวอยู่ที่บ้าน บางทีก็แทบไม่ได้เจอผู้คนเลย ด้วยความเครียดที่ถูกสะสม อาจทำให้เกิดอารมณ์ที่แปรปรวน
ซึ่งหลายครั้งเราอาจจะไม่เข้าใจว่าความรู้สึกที่เกิดขึ้นนั้นคือความรู้สึกหรือ อารมณ์ อะไร นั่นจึงทำให้เราควรที่จะศึกษาเพื่อให้รู้ทันเกี่ยวกับ อารมณ์ ของตัวเองให้มากขึ้น
มนุษย์เราต่างก็มีหลากหลายอารมณ์ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับแต่ละสถานการณ์ และแน่นอนว่ามันมีอิทธิพลกับเรามากในการใช้ชีวิต ที่ไม่ว่าจะกับตัวเอง หรือการอยู่ร่วมกับคนในสังคม
แต่หลายๆ ครั้งดูเหมือนว่าเราจะถูกควบคุมโดยอารมณ์เหล่านี้ เลยทำให้นักจิตวิทยาได้ทำการแยกแยะความแตกต่างของอารมณ์เหล่านั้นออกมา
จึงทำให้เกิดทฤษฎีมากมายเกี่ยวกับการแบ่งประเภทและอธิบายเกี่ยวกับอารมณ์ต่างๆ ของมนุษย์
ในช่วงปี 1970 นักจิตวิทยา พอล เอคแมน ได้บอกว่ามี 6 อารมณ์พื้นฐานที่เขาได้นิยามไว้คือ ความสุข ความเศร้า รังเกียจ ความกลัว ความแปลกใจ และความโกรธ
ที่เขาเชื่อว่ามีอยู่ทั่วไปในใจวัฒนธรรมของมนุษย์ทั้งหมด ต่อมาเขาได้เพิ่มความภูมิใจ ความอับอาย ความอึดอัด และความตื่นเต้น เข้าไปอยู่ในอารมณ์พื้นฐานด้วย
ความสุข
จากอารมณ์พื้นฐานทั้งหมด ความสุขถือเป็นอารมณ์ที่ทุกคนต้องการอยากจะมีที่สุด ความสุขได้ถูกนิยามว่าเป็นสภาวะทางอารมณ์ที่รื่นรมย์
ซึ่งเป็นลักษณะของความพึงพอใจ ปลาบปลื้ม ความสมหวัง และการอยู่ดีกินดี
การวิจัยเกี่ยวกับความสุขได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะตั้งแต่ช่วงปี 1960 ซึ่งรวมถึงสาขาของจิตวิทยา ที่เรียกว่าจิตวิทยาเชิงบวก ในขณะที่ความสุขถือเป็นหนึ่งในอารมณ์ขั้นพื้นฐานของมนุษย์
โดยเราเชื่อว่าสิ่งที่จะสร้างความสุขมักจะได้รับอิทธิพลที่รุนแรงจากวัฒนธรรม อย่างเช่น อิทธิพลของวัฒนธรรมร่วมสมัยที่มองว่าการที่จะประสบความสำเร็จคือการซื้อบ้าน
หรือว่าการมีรายจ่ายที่สูงจะส่งผลให้เกิดความสุขได้
แต่ในความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่ก่อให้เกิดความสุขมักจะมีความซับซ้อนและขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคลด้วย ซึ่งในที่นี้ผู้คนเชื่อกันมานานแล้วว่าความสุขและสุขภาพนั้นเชื่อมโยงกัน
และการวิจัยได้สนับสนุนความคิดที่ว่าความสุขสามารถมีบทบาททั้งในสุขภาพร่างกายและจิตใจ
ความเศร้า
ความเศร้าเป็นอีกอารมณ์หนึ่งที่มักจะถูกกำหนดให้เป็นสภาวะอารมณ์ชั่วคราว ที่มีเป็นลักษณะของ ความผิดหวัง ความโศกเศร้า ความสิ้นหวัง และความแปรปรวนทางอารมณ์
เหมือนกันกับอารมณ์อื่นๆ ความเศร้าคือสิ่งที่ทุกคนสามารถพบเจอได้เป็นครั้งคราว ในบางกรณีผู้คนอาจได้สัมผัสกับช่วงเวลาแห่งความเศร้าที่ยืดเยื้อและรุนแรง ซึ่งสามารถเปลี่ยนไป
เป็นภาวะซึมเศร้าได้ โดยความโศกเศร้าสามารถแสดงออกได้หลายวิธี เช่น การร้องไห้ ความเซื่องซึม ความเงียบ และการออกห่างจากคนอื่น
ประเภทและความรุนแรงของความโศกเศร้าอาจจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสาเหตุและวิธีการรับมือกับความรู้สึกของแต่คนนั่นเอง
ความกลัว
ความกลัวคืออารมณ์ที่มีบทบาทสำคัญกับการใช้ชีวิต เมื่อคุณเผชิญหน้ากับอันตรายและความกลัว คุณจะต้องผ่านมันไปไม่ว่าจะด้วยวิธีสู้กับมันหรือว่าหนีก็ตาม
ความกลัวจะทำให้กล้ามเนื้อของคุณตึง อัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจจะเพิ่มขึ้น จิตใจของคุณจะตื่นตัว และร่างกายก็จะเตรียมตัวที่จะวิ่งหนีจากอันตรายหรือว่ายืนเพื่อที่จะสู้กับมัน
ซึ่งการตอบสนองนี้จะช่วยให้เรามั่นใจว่าเราพร้อมที่จะจัดการกับภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อมของคุณ
แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนที่มีความกลัวในลักษณะเดียวกัน บางคนอาจจะอ่อนไหวต่อความกลัวและสถานการณ์หรือวัตถุบางอย่างที่สามารถกระตุ้นความกลัวได้
ความกลัวคือการตอบสนองทางอารมณ์ต่อการคุกคามในทันที นอกจากนี้เรายังสามารถตอบสนองต่อภัยคุกคามที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหรือแม้แต่ความคิดที่คล้ายกันของอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
และนี่คือสิ่งที่เราคิดโดยทั่วไปว่าเป็นความกังวล ยกตัวอย่างเช่น ความวิตกกังวลทางสังคมเกี่ยวข้องกับความกลัวในสถานการณ์ทางสังคม
ในทางกลับกันบางคนก็อาจมีสถานการณ์ที่กระตุ้นความกลัวได้ เช่น กีฬาผาดโผนและความตื่นเต้นอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดความกลัว ในขณะที่บางคนดูเหมือนจะเจริญเติบโตและเพลิดเพลินไปกับความรู้สึกเหล่านั้น
ซึ่งตรงนี้กลายเป็นแนวคิดที่อยู่เบื้องหลังการรักษาที่จะค่อยๆ ให้ผู้คนสัมผัสกับสิ่งที่กลัวในแบบที่พวกเขาสามารถควบคุมได้ และในที่สุดความกลัวนั้นก็จะเริ่มลดลงไปเอง
ขยะแขยง
ขยะแขยงเป็นอีกหนึ่งอารมณ์ของ 6 อารมณ์พื้นฐานที่ ดร.เอคแมน ได้อธิบายไว้ ความรู้สึกรังเกียจนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสิ่งหลายอย่างรวมถึงรสชาติที่ไม่พึงประสงค์
สายตา หรือกลิ่น นักวิจัยเชื่อว่าอารมณ์เหล่านี้จะพัฒนาเป็นปฏิกิริยาที่อาจจะเป็นอันตราย และอาจส่งผลถึงชีวิต
สุขอนามัยที่ไม่ดี การติดเชื้อ เลือด ของเน่า และความตายอาจจะก่อให้เกิดการตอบสนองที่น่ารังเกียจ
สิ่งนี้อาจเป็นวิธีการและกลไกที่ร่างกายพยายามหลีกเลี่ยงต่อสิ่งต่างๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของโรคติดต่อที่เป็นอันตราย เพื่อให้ตัวเราปลอดภัย
ความโกรธ
ความโกรธเป็นอารมณ์ที่ทรงพลังโดยเฉพาะความรู้สึกของการเป็นศัตรู ถูกก่อกวน และการถูกหักหลัง เช่นเดียวกับความกลัวที่มีบทบาทให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาต่อสู้หรือหนี
เมื่อสิ่งกระตุ้นได้สร้างความรู้สึกโกรธ คุณอาจมีแนวโน้มที่จะป้องกันอันตรายและป้องกันตัวเอง แม้ว่าความโกรธมักจะถือว่าเป็นอารมณ์เชิงลบ
แต่ในบางครั้งมันอาจเป็นสิ่งที่ดี เพราะมันสามารถช่วยให้คุณระบุความต้องการของคุณในความสัมพันธ์ เพื่อหาวิธีที่จะแก้ไขปัญหาที่กวนใจของตัวเองได้
อารมณ์นี้มีผลทั้งทางจิตวิทยาและทางกายภาพ ความโกรธที่ไม่มีการควบคุมจะทำให้ยากต่อการใช้เหตุผลตัดสินใจในเรื่องต่างๆ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณอีกด้วย
ความประหลาดใจ
ความประหลาดใจมักมาในเวลาเพียงแค่เล็กน้อย เป็นการตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งที่ไม่คาดคิด ความประหลาดใจเป็นอีกอารมณ์ที่สามารถถูกกระตุ้นให้สู้หรือหนีได้อีกเช่นกัน
เมื่อคนสะดุ้งตกใจร่างกายจะหลั่งสารอะดรีนาลีนเพื่อให้ร่างกายได้เตรียมตัวที่จะสู้หรือหนี