เวย์โปรตีนคุณภาพสูง ยอดขายอันดับ 1 ของประเทศ | ติดตามเราบน

ภาษาไทย | English สมัครสมาชิก | เข้าสู่ระบบ

ปัญหาสุขภาพหลักของ “ผู้หญิงวัยทอง”

สุขภาพ 13 พ.ย 66



ปัญหาสุขภาพหลักของ “ผู้หญิงวัยทอง”

อาการวัยทองเป็นอาการที่พบได้เมื่อผู้หญิงเริ่มเข้าสู่ช่วงวัยทอง (Menopause) หรือช่วงที่ร่างกายหมดประจำเดือน

ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นตามกลไกธรรมชาติของร่างกายจากการที่ระดับฮอร์โมนเพศหญิงอย่างเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) เริ่มลดน้อยลง

โดยปกติ อาการวัยทองจะเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่ในช่วงก่อนเข้าสู่ช่วงวัยทองหลายเดือนหรือหลายปี ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงวัยประมาณ 45–55 ปี

แต่บางกรณี เช่น การผ่าตัดนำรังไข่ออก หรือการเกิดอาการบาดเจ็บบริเวณรังไข่ อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเข้าสู่ช่วงวัยทองเร็วขึ้น


สัญญาณของอาการวัยทองมีอะไรบ้าง

ในช่วงแรก ผู้ที่เริ่มเข้าสู่วัยทองจะเริ่มพบว่าประจำเดือนมาไม่ปกติ โดยอาการจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน

เช่น ประจำเดือนเริ่มมาคลาดเคลื่อน ประจำเดือนมากะปริบกะปรอย ประจำเดือนมามากผิดปกติ หรือประจำเดือนมาน้อยผิดปกติ

จากนั้นผู้ที่เริ่มเข้าสู่วัยทองจะเริ่มพบอาการวัยทองอื่น ๆ ตามมา โดยอาการที่อาจพบได้ เช่น

ร้อนวูบวาบ เป็นอาการที่ทำให้ใบหน้าและลำคอแดงผิดปกติ เกิดรอยจุดสีแดงบริเวณหน้าอก หลัง และแขน มีเหงื่อออกมากและหนาวสั่น

โดยอาการจะเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ ครั้งละประมาณ 30 วินาที–10 นาที แต่ความถี่จะแตกต่างกันไปในแต่ละคน บางคนอาจพบอาการหลายครั้งภายในไม่กี่ชั่วโมง ในขณะที่บางคนอาจพบอาการเพียงไม่กี่ครั้งในระยะเวลาหลายวัน

มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ เช่น นอนหลับยาก นอนไม่หลับ หรือตื่นเช้าผิดปกติ

เกิดอาการผิดปกติบริเวณช่องคลอด ช่องคลอดแห้งผิดปกติ หรือบางคนอาจพบการเกิดภาวะมดลูกหย่อน (Uterine Prolapse) ร่วมด้วย

ความต้องการทางเพศเปลี่ยนไป เช่น มีความต้องการทางเพศมากขึ้น หรือมีความต้องการทางเพศน้อยลง

อารมณ์แปรปรวน รู้สึกหงุดหงิด


ผู้หญิงวัยทองพบบ่อย 5 อาการ ดังนี้

1. อาการช่องคลอดแห้ง

อาการของวัยทองอีกหนึ่งอย่างคือ ภาวะช่องคลอดแห้ง เนื่องจากช่องคลอดจะสั้นและแคบลง ผนังบางลง และต่อมเมือกสร้างสารหล่อลื่นหดตัว ซึ่งเกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ปกติจะผลิตเมือกใสชั้นบาง ๆ เคลือบอยู่บริเวณผนังช่องคลอดมีปริมาณลดลง ส่งผลให้ความชุ่มชื้นของช่องคลอดลดลงและไม่ยืดหยุ่น ทำให้เกิดอาการช่องคลอดแห้งเกิดขึ้นได้

2. อาการผิวหนังแห้ง

ผิวหนังมีฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ทำหน้าที่ควบคุมเพื่อรักษาความชุ่มชื้น ความยืดหยุ่น และความตึงกระชับ เมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงก็ทำให้มีปัญหาผิวแห้ง คันผิวหนัง เหี่ยวย่นและมีริ้วรอยมากขึ้น อาจตามด้วยฝ้า กระ จุดด่างดำตามมา

3. อาการของโรคกระดูกพรุน

มื่อถึงวัยหมดประจำเดือนการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกายก็จะลดลง ส่งผลต่อการปรับตัวของกระดูกไปในทางลบ มีการดึงแคลเซียมในกระดูกมากกว่าการสะสมหรือการสร้างเพิ่ม เมื่อการสร้างและการสลายกระดูกทำงานไม่สมดุลกัน แคลเซียมที่สะสมอยู่ในกระดูกถูกดึงออกมาเรื่อย ๆ จนกลายเป็นโรคกระดูกพรุนได้ง่าย

4. อาการนอนไม่หลับ

อาการนอนไม่หลับเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้มากเช่นกัน นอกจากนี้อาการนอนไม่กลับยังส่งผลเสียต่อการดำเนินชีวิตค่อยข้างเยอะ เมื่อคนเราอายุมากขึ้น จะนอนหลับได้ยากขึ้น เนื่องจากการสร้างฮอร์โมนเมลาโทนินลดลง ส่วนมากหลับแล้วตื่นกลางดึก และเมื่อตื่นแล้ว ก็จะหลับต่อไม่ได้ ทำให้เกิดอาการหงุดหงิด อ่อนเพลีย

5. อาการร้อนวูบวาบ

อาการร้อนวูบวาบเกิดจากระบบควบคุมความร้อนความเย็นในร่างกายเสื่อมไปตามวัย อาการร้อนวูบวาบในวัยทองไม่ใช่โรค และไม่ทำให้เกิดอันตรายใดๆ จึงไม่ควรวิตกกังวลมากนัก เพราะจะยิ่งทำให้เครียดและมีอาการมากขึ้น


วิธีดูแลตัวเองในเบื้องต้นเมื่อพบอาการวัยทอง

ในเบื้องต้น อาการวัยทองอาจบรรเทาได้ด้วยวิธีต่อไปนี้

เลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี และดื่มน้ำเย็นเมื่อมีอาการร้อนวูบวาบ

เปิดหน้าต่างหรือเครื่องปรับอากาศในห้องนอนเพื่อควบคุมอุณหภูมิในห้องนอนให้เหมาะสมแก่การนอนหลับ และลดความเสี่ยงในการเกิดอาการเหงื่อออกตอนกลางคืน

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันบางอย่าง เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอาการร้อนวูบวาบ จัดการกับความเครียดด้วยการฝึกหายใจ หรือการทำกายบริหาร (Progressive Muscle Relaxation)

ทามอยส์เจอไรเซอร์หรือครีมบำรุงผิวอย่างสม่ำเสมอ เพื่อบรรเทาอาการผิวแห้ง

รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียม วิตามินดี และแมกนีเซียมเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้

หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การสูดดมควันบุหรี่มือสอง และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้ร่างกาย ควบคุมน้ำหนัก และช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น

นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย


สนใจรับเคล็ดลับลดน้ำหนัก เพิ่มกล้าม เพิ่มเติมได้ที่

Facebook : WHEYWWL

Instagram : wheywwl

Twitter : WheyWWL Official

Youtube : WHEYWWL Official

บทความที่น่าสนใจ

เพิ่มเติม