ออกกำลังกายมากเกินไปเป็นอย่างไร
ออกกำลังกาย 15 ม.ค 67
- ลักษณะของการออกกำลังกายเกินพอดี
การออกกำลังกายมากไป นอกจากจะหมายถึงการออกกำลังมากเกินกว่าร่างกายจะรับได้แล้ว
ยังหมายรวมถึง
- ความหนัก
ในการออกกำลังกายแต่ละครั้งมากเกินไป เช่น ต้องการเผาผลาญแคลอรีให้ได้มาก จึงเพิ่มความเร็ว
ความชันของลู่วิ่งให้มากขึ้นต่อเนื่องและเร็วเกินไป ร่างกายยังมีการปรับเปลี่ยนที่ไม่ดีพอจึงรับไม่ได้
- มีปริมาณการฝึก
จำนวนมากคล้ายกันในแต่ละครั้ง เช่น เต้นแอโรบิกและออกกำลังกายอย่างหนักและต่อเนื่อง 2-3 อย่างในครั้งเดียว
- ความถี่
ของการออกกำลังกายมากเกินไป ไม่มีเวลาพักผ่อนหลังการฝึก ซึ่งปกติจะขึ้นอยู่กับปริมาณ และความหนักของการออกกำลังกาย
ออกกำลังกายมากเกินไปเป็นอย่างไร
โดยทั่วไปแล้ว ผู้ฝึกควรออกกำลังกายในระดับปานกลางเป็นประจำ
ผู้ที่ออกกำลังกายมากเกินไปหรือที่เรียกว่าเสพติดการออกกำลังกาย (Exercise Addiction)
จะทำให้ผู้ฝึกเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นน้ำหนักตัวน้อยเกินไป ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
เมื่อยล้า หงุดหงิด ได้รับบาดเจ็บบ่อย ขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และถึงขั้นเสียชีวิต
ผู้ที่เสพติดการออกกำลังกายจะปรากฏสัญญาณหรืออาการ ดังนี้
- ครุ่นคิดกับการออกกำลังกายและการป้องกันน้ำหนักเพิ่ม
- ออกกำลังกายวันละหลายครั้ง
- แบ่งเวลาในการทำสิ่งต่าง ๆ ไม่ได้ เนื่องจากใช้เวลาไปกับการออกกำลังกาย ทำให้ขาดปฏิสัมพันธ์กับครอบครัว เพื่อนร่วมงาน เพื่อน และเรื่องอื่น ๆ
- ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องแม้จะได้รับบาดเจ็บ ป่วย หรือปรากฏสัญญาณว่าออกกำลังกายมากเกินไป
- รู้สึกผิดหรือกังวลหากไม่ได้ออกกำลังกาย
- ไม่รู้สึกสนุกกับการออกกำลังกายอีกต่อไป
- ละเลยความรับผิดชอบต่อหน้าที่ เช่น ขาดงานหรือขาดเรียนเพื่อมาออกกำลังกาย
- ประจำเดือนขาดสำหรับผู้หญิงที่ออกกำลังกายมากเกินไป
- ผู้ที่เสพติดการออกกำลังกายจะได้รับผลเสียจากการออกกำลังกายมากเกินไป ดังนี้
- ไม่สามารถออกกำลังกายในระดับที่เคยทำได้เหมือนเดิม
- จำเป็นต้องพักร่างกายนานขึ้น
- รู้สึกเหนื่อยและล้า
- อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย รวมทั้งเกิดอาการซึมเศร้า
- นอนหลับยาก
- ปวดกล้ามเนื้อและแขนขา รวมทั้งได้รับบาดเจ็บมาก
- ขาดแรงจูงใจ
- เป็นหวัดได้ง่าย
- น้ำหนักตัวลดลง
โทษของการออกกำลังกายมากเกินไป
1.ร่างกายจะมีความผิดปกติ หากเป็นในวัยเด็กจะไม่เจริญเติบโต หรือเติบโตไม่เต็มที่ หรือหยุดการเจริญเติบโตไปเลย
2.รูปร่างภายนอกของคนออกกำลังกายมากเกินไปอาจดูดี แต่ระบบร่างกายภายในกลับแปรปรวน
เช่น ประจำเดือนขาด หรือมาแบบไม่สม่ำเสมอ อวัยวะภายในร่างกายทำงานมากจนผิดปกติ
3.ในกรณีที่ทานโปรตีน หรือเวย์โปรตีนควบคู่กันไปกับการออกกำลังกาย หากไม่สามารถควบคุมสารอาหารให้มีความสมดุลกันได้
อาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร หรืออาจรับโปรตีนมากเกินไป ส่งผลให้ตับ และไตทำงานหนักอีกด้วย
4.กล้ามเนื้อบริเวณที่ออกกำลังกายอาจเกิดอาการบาดเจ็บได้หากเกิดอาการแล้วไม่แก้ไขหรือไม่หยุดทำการรักษา
อาจถึงขั้นพิการ และใช้งานไม่ได้ไปเลยตลอดชีวิต เช่น กล้ามเนื้อหัวไหล่ นิ้วมือ ข้อศอก เข่า ข้อเท้า เอ็นร้อยหวาย เป็นต้น
5.หากไม่ได้รับการตรวจร่างกายก่อนออกกำลังกาย และมีความเข้าใจว่าตัวเองไม่ได้มีความผิดปกติ หรือมีโรคภัยอะไรร้ายแรง
แล้วไปหักโหมออกกำลังกายอย่างหนัก อาจจะเป็นการกระตุ้นให้โรคนั้นๆ กำเริบเร็วขึ้นจนมีอาการทรุดหนัก เช่น โรคหัวใจ เป็นต้น