เวย์โปรตีนคุณภาพสูง ยอดขายอันดับ 1 ของประเทศ | ติดตามเราบน

ภาษาไทย | English สมัครสมาชิก | เข้าสู่ระบบ

ประโยชน์-ผลข้างเคียง การกินใบกระท่อม

ทั่วไป 24 มิ.ย 65



“ใบกระท่อม” ได้รับการยอมรับว่าถูกกฏหมาย ถึงแม้ใบกระท่อมจะมีประโยชน์ทางยา แต่หากใช้ในปริมาณที่มากและติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพได้


ที่สำคัญห้ามจำหน่ายให้กับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี รวมถึงสตรีมีครรภ์ และห้ามจำหน่ายในโรงเรียน , วัด , ส่วนประเภทธุรกิจการส่งออกหรือนำเข้าจะต้องขออนุญาตก่อน


กระท่อม (Kratom) หรือ Mitragyna speciosa (Korth.) HaviL.

เป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งในวงศ์ Rubiaceae ถูกนำมาใช้เป็นยาสามัญประจำบ้านหลายร้อยปีแล้ว พบมากสุดทางใต้ของประเทศไทย ไปจนถึงเขตชายแดน นิยมเคี้ยวใบสด หรือ ต้มเป็นชา เพื่อกระตุ้นให้ทำงานได้โดยไม่เมื่อยล้า สำหรับประเทศไทยมีการนำมาใช้เป็นยาแก้โรคบิด ท้องร่วง และปวดมวนท้อง

  • บางพื้นที่เล่าต่อ ๆ กันมาว่า สามารถบรรเทาโรคเบาหวานได้ นิยมเคี้ยวใบสด หรือเอาใบมาย่างให้เกรียม และตำผสมกับน้ำพริกทานเป็นอาหาร เพื่อให้มีแรงทำงาน และสามารถทนตากแดดอยู่กลางแจ้งได้เป็นเวลานานโดยไม่รู้สึกเหนื่อย
  • บางพื้นที่เล่าว่า ใบกระท่อมตำพอกแผล ใช้ทั้งใบเผาให้ร้อนวางบนท้องรักษาโรคม้ามโต และใช้ใบกระท่อมเพื่อควบคุมการติดฝิ่น โดยเฉพาะในประเทศนิวซีแลนด์ในปัจจุบัน



ประเทศไทยมีกระท่อมอยู่ 3 พันธุ์

  • แตงกวา (ก้านเขียว)
  • ยักษาใหญ่ (รูปใบใหญ่)
  • ก้านแดง


สารสำคัญในใบกระท่อม

  1. อินโดลแอลคาลอยด์ (Indole Alkaloids)
  2. ออกอินโดลแอลคาลอยด์ (Oxindole Alkaloids)
  3. ฟลาวานอยด์ (Elavanoids)
  4. กลุ่มอื่นๆ เช่น ไฟโตสเตอรอล (Phytosterol), แทนนิน (Tannins)



ประโยชน์กระท่อมต่อสุขภาพ

บรรเทาอาการเจ็บปวดส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น อาการปวดที่ไม่พึงประสงค์จากการบาดเจ็บทางร่างกาย เนื้อเยื่อ ปวดหลัง ระบบประสาท กล้ามเนื้อ หรือเส้นเอ็น อาการปวดที่เกิดจากภาวะเรื้อรัง เช่น โรคระบบประสาทส่วนกลางเสื่อม มะเร็ง เบาหวาน โรคข้ออักเสบ เป็นต้น โดยไม่คำนึงถึงที่มาความเจ็บปวดจะส่งผลต่อร่างกายทั้งทางร่างกายและจิตใจ

  • ช่วยรักษาอาการไอ
  • ช่วยลดการหลั่งกรด
  • ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้เล็ก
  • ช่วยให้มีสมาธิ และระงับประสาท
  • แก้ท้องเสีย ท้องร่วง ปวดเบ่ง แก้บิด
  • แก้ปวดฟัน
  • ทำให้นอนหลับ และระงับประสาท
  • แก้ปวดเมื่อยร่างกาย
  • ช่วยให้ทํางานทนไม่หิวง่าย
  • ระงับอาการกล้ามเนื้อกระตุก
  • เป็นยาคลายกล้ามเนื้อ
  • บรรเทาอาการปวดแทนมอร์ฟีน


อาการข้างเคียงจากการกินใบกระท่อม

  • คนที่รับประทานใบกระท่อมเป็นครั้งแรก อาจจะมีอาการมึนงง คอแห้ง คลื่นไส้อาเจียน
  • เมื่อใช้ในปริมาณมากอาจจะทำให้เกิดอาการเมา เกิดความผิดปกติของกล้ามเนื้อทรงตัว ระบบประสาทรับสัมผัสตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ลดลง เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ
  • เมื่อใช้มาเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสีขึ้นที่บริเวณผิวหนัง ทำให้มีผิวสีคล้ำและเข้มขึ้น
  • การรับประทานใบกระท่อมไม่ควรรับประทานเกินวันละ 5 ใบโดยรูดก้านใบออกแล้วเคี้ยวเหมือนการเคี้ยวหมาก
  • เมื่อรับประทานใบกระท่อม บางรายอาจทำให้เกิดพิษเฉียบพลัน โดยทำให้ใจสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ชัก ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง ประสาทหลอน สับสน กระสับกระส่าย ปวดศีรษะ เหงื่อออก ความดันโลหิตสูง
  • อาจพบอาการซึมมากในผู้ที่รับประทานใบกระท่อมปริมาณมาก (มากกว่า 15 กรัมของใบกระท่อม หรือประมาณใบ 10 ใบ)
  • ไม่ควรกลืนกากเพราะกากใบเป็นเส้นใยที่ย่อยยาก เมื่อรับประทานบ่อยๆ อาจทำให้เกิด “ถุงท่อม” ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนแข็งอยู่ในท้องและทำให้ปวดท้องได้

สำหรับคนที่ใช้ใบกระท่อมไปเป้นเวลานาน เวลาที่ต้องการเลิกใบกระท่อมจะทำให้เกิดอาการอยากรุนแรง (Craving) และมีอาการถอน เช่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ นอนไม่หลับ หงุดหงิด อ่อนเพลีย ท้องเสีย น้ำมูกไหล แขนขากระตุก ถึงแม้ว่าในปัจจุบันกระท่อมจะไม่ใช่ยาเสพติด และมีการออกฤทธิ์ที่มีประโยชน์ทางยา ก็ไม่ควรรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปและติดต่อกันเป็นเวลานาน ไม่เช่นนั้นสุขภาพจะเสียได้

โดยเฉพาะสตรีตั้งครรภ์ และให้นมบุตร ผู้เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง หรือติดสุรา ผู้มีความผิดปกติทางจิต และผู้ป่วยโรคหัวใจไม่ควรทาน ถึงแม้ใบกระท่อมจะได้รับการยอมรับมากขึ้น แต่ก็มีทั้งข้อดี และข้อเสีย ก่อนทานใบกระท่อมควรเช็คร่างกายตัวเองก่อน เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตด้วย


20 เมนูมื้อเย็นไม่เกิน 200 แคล ลดน้ำหนักลดแน่!!
ติดเค็มเสี่ยงโรค อาจสูญเสียอวัยะสำคัญ
ลดพุงด่วนใน 7 วัน กับ 7 วิธีลดพุงให้แบนราบ

สนใจรับเคล็ดลับลดน้ำหนัก เพิ่มกล้าม เพิ่มเติมได้ที่

Facebook : WHEYWWL

Instagram : wheywwl

Twitter : WheyWWL Official

Youtube : WHEYWWL Official