ติดเค็มเสี่ยงโรค อาจสูญเสียอวัยะสำคัญ
สุขภาพ 10 มิ.ย 65
คนที่ติดเค็ม จะให้เลิกกินเค็มก็อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ถ้าคุณรู้ว่า การกินเค็มบ่อย ๆ เสี่ยงโรคอันตรายหลายอย่าง อาจทำให้เลิกกินเค็มได้ โดยเฉพาะโรคหัวใจ ความดันโลหิต ที่สำคัญมีผลเสียต่อไตระยะยาว
รสชาติเค็ม ก็เหมือนยาเสพติดที่ไปเร่งการผลิตโดปามีน ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองส่งผลต่ออารมณ์ความพึงพอใจ ความสุข ทำให้เกิดความรู้สึกอยากอาหาร หากให้ลดเค็มก็จะรู้สึกว่าอาหารไม่อร่อย รู้สึกหงุดหงิด อารมณ์เสีย ถ้าสังเกตกันดี ๆ การที่เรากินเค็มมาก จะเริ่มรู้สึกกระหายน้ำ และทำให้ดื่มน้ำมากขึ้น และการที่น้ำออกจากเซลล์เข้ามาในพลาสมาจึงทำให้น้ำในหลอดเลือด (intravascular fluid, IVF) เพิ่มขึ้น และถ้าเพิ่มขึ้นมากจะทำให้เกิดการคั่งของเกลือ และน้ำในอวัยวะต่าง ๆ เป็นอันตรายต่อหัวใจ ทำให้มีน้ำคั่งในปอดและเกิดการบวมน้ำได้
โรคร้ายที่เกิดจากการกินเค็ม
- หัวใจวาย
ร่างกายแต่ละคนไม่เหมือนกัน หากไม่สามารถกำจัดเกลือ และน้ำส่วนเกินในร่างกายได้ เกิดภาวะคั่งของเกลือและน้ำในอวัยวะต่าง ๆ เช่น แขนขา หัวใจ และปอด ผลคือทำให้แขนขาบวม เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก นอนราบไม่ได้ ในผู้ป่วยโรคหัวใจ น้ำที่คั่งในร่างกายจะทำให้เกิดภาวะหัวใจวายมากขึ้น
- ความดันโลหิตสูง
สาเหตุของความดันโลหิตสูง นอกจากปัจจัยทางกรรมพันธุ์ ความอ้วน ระดับไขมันในเส้นเลือด ความเครียดทางจิตใจแล้ว ยังเกิดจากพฤติกรรมการกินรสเค็ม เพราะเมื่อไหร่ที่ร่างกายได้รับเกลือหรืออาหารรสเค็ม จะเกิดการดูดน้ำกลับเข้าสู่กระแสเลือดมากขึ้น หากร่างกายได้รับเกลือในปริมาณที่มากจนเกินไป มีส่วนทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้
- เสี่ยงเกิดโรคไตเรื้อรัง
การกินเค็ม (โซเดียม) มากเกินไป มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังมากขึ้นในอนาคต และคนที่เป็นโรคไตอยู่แล้ว การกินเค็มบ่อย ๆ ยิ่งจะทำให้เกิดอาการมากขึ้น และไตเสื่อมเร็วไปอีก จึงเกิดการรณรงค์ลดกินเค็มกันอย่างแพร่หลาย เพื่อให้มีสุขภาพดีห่างไกลจากโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคไตเรื้อรัง
- ทำให้อวัยะอื่น ๆ เสียหาย
เมื่อกินเค็มมากทำให้ระดับความดันโลหิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง คนอ้วน และผู้ป่วยโรคเบาหวาน ภาวะความดันโลหิตสูงทำให้เกิดผลเสียต่อหลอดเลือดในอวัยวะต่าง ๆ เช่น หัวใจ และสมอง เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน โรคอัมพฤกษ์ และอัมพาต ดังนั้นร่างกายควรได้รับโซเดียมในปริมาณที่เหมาะสมจะดีที่สุด
วิธีลดอาการติดเค็ม
ลดปริมาณการปรุงรสชาติอาหารด้วยเครื่องปรุงที่มีปริมาณโซเดียมสูง เช่น เกลือ น้ำปลา ซีอิ๊วขาว ซอสมะเขือเทศ น้ำซุป ซอสปรุงรส น้ำจิ้มต่าง ๆ เป็นต้น
- ใช้เครื่องเทศปรุงรสชาติของอาหารให้มากขึ้น ทดแทนการใช้เครื่องปรุงที่มีโซเดียมสูง
- เลือกบริโภคเครื่องปรุงที่มีปริมาณโซเดียมต่ำกว่าปกติ
- ลดการซดน้ำซุปต่าง ๆ น้ำจากผัดผัก น้ำแกงต่าง ๆ เป็นต้น
- ลดการกินอาหารที่ปรุงด้วยรสเค็มจัด เช่น ไข่เค็ม ปลาเค็ม ปลาแดดเดียว ปลาส้มแหนม ไส้กรอก กุนเชียง หมูหยอง อาหารแช่แข็ง อาหารสำเร็จรูป เป็นต้น
- ก่อนเลือกอาหารต้องเช็คปริมาณโซเดียมให้ดี โดยเฉพาะอ่านฉลากโภชนาการก่อนทุกครั้ง ซึ่งไม่ควรบริโภคเกลือเกิน 5 กรัมต่อวัน (โซเดียม 2,400 มิลลิกรัม)
กระตุ้นการเผาผลาญไขมัน ลดน้ำหนักได้เร็ว
ลดน้ำหนัก งดข้าวเย็น สุขภาพเสียหนัก
รับมืออาการเปลี่ยนแปลง ป้องกันโรค