เวย์โปรตีนคุณภาพสูง ยอดขายอันดับ 1 ของประเทศ | ติดตามเราบน

ภาษาไทย | English สมัครสมาชิก | เข้าสู่ระบบ

“โปรตีน” สารอาหารหลักของร่างกาย!

อาหาร 22 ก.ย 64



“โปรตีน” เป็นองค์ประกอบสำคัญของเอนไซม์ช่วยก่อให้เกิดปฏิกิริยาที่ดีในร่างกาย ฮีโมโกลบินที่ทำหน้าที่ขนส่งออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ประกอบไปด้วยโครงสร้างของโปรตีนเช่นกัน รวมทั้งสามารถพบได้ทั่วร่างกายตั้งแต่กล้ามเนื้อ กระดูก เส้นขน ผม กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อต่างๆ ซึ่งเราสามารถรับโปรตีนได้จากการรับประทานอาหาร อย่างเนื้อสัตว์ และพืช


ถึงแม้เราจะรับโปรตีนได้จากสัตว์และพืช แต่โปรตีนเหล่านี้มีความแตกต่างกัน ซึ่งโปรตีนเป็นโมเลกุลขนาดใหญ่ที่เกิดจากกรดอะมิโนหลายชนิดเรียงต่อกัน กรดอะมิโนแบ่งออกเป็นสามกลุ่ม


  • กลุ่มแรก คือกลุ่มกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น (non-essential amino acid)

เป็นกลุ่มของกรดอะมิโนที่ร่างกายสร้างขึ้นเองได้ และไม่จำเป็นต้องได้รับจากการรับประทานอาหาร ได้แก่ อะลานีน(alanine) แอสพาราจีน (asparagine) กรดแอสพาติก (aspartic acid) กรดกลูตามิก (glutamic acid)

  • กลุ่มที่สอง คือกลุ่มกรดอะมิโนเฉพาะกาล (conditional amino acid)

เป็นกลุ่มของกรดอะมิโนในภาวะปกติร่างกายสามารถสร้างขึ้นเองได้แบบเดียวกับกลุ่มแรก ยกเว้น ในช่วงที่ร่างกายอยู่ในสภาวะเครียดหรือเจ็บป่วย ได้แก่ อาร์จินีน (arginine) ซีสเตอีน (cysteine) กลูตามีน (glutamine) ไกลซีน (glycine) ออนิธีน (ornithine) โพรลีน (proline) เซอรีน(serine) และไทโรซีน (tyrosine)

  • กลุ่มที่สาม คือกลุ่มของกรดอะมิโนจำเป็น (essential amino acid)

เป็นกลุ่มของกระดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถร้างขึ้นเองได้ จำเป็นต้องได้รับจากการรับประทานอาหารเท่านั้น ได้แก่ ฮีสทิดีน (histidine) ไอโซลิวซีน (isoleucine) ลิวซีน (leucine) ไลซีน (lysine) เมไธโอนีน (methionine) ฟีนิละลานีน (phenylalanine) ธรีโอนีน(threonine) ทริปโทแฟน (tryptophan) และวาลีน (valine)

โดยปกติแล้วโปรตีนที่ได้จากเนื้อสัตว์มีแนวโน้มที่จะให้กรดอะมิโนครบทุกชนิดที่ร่างกายต้องการ แต่แหล่งโปรตีนอื่น เช่น ผลไม้ ผัก ธัญพืช ถั่ว เมล็ดพืช ไม่ได้มีกรดอะมิโนครบถ้วนอย่างในเนื้อสัตว์ ในกลุ่มผู้รับประทานมังสวิรัติจึงจำเป็นต้องรับประทานอาหารจากแหล่งโปรตีนที่มีความหลากหลายเพื่อป้องกันการขาดกรดอะมิโนจำเป็น

หากคุณต้องการรับประทานโปรตีนจากพืช หรือโปรตีนจากสัตว์ ล้วนให้พลังงานต่อร่างกายที่แตกต่างกัน แต่เราไม่สามารถเลือกรับประทานเฉพาะโปรตีนได้ เพราะแหล่งของโปรตีนนั้นมีส่วนประกอบอื่นร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุ



โปรตีนพืชและโปรตีนสัตว์ ส่งผลต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดต่างกันหรือไม่

จากการศึกษาของ R. Chesney ในปี 2015 ถึงความแตกต่างระหว่างโปรตีนพืชและโปรตีนสัตว์ต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดพบว่า หลักฐานเชิงประจักษ์ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดถึงความแตกต่างในการเกิดโรค แต่มีหลักฐานว่าการรับประทานโปรตีนจากพืชมีแนวโน้มลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการรับประทานโปรตีนจากสัตว์ที่ไม่ผ่านกระบวนการแปรรูปและมีไขมันอิ่มตัวต่ำ

อย่างไรก็แล้วแต่ การศึกษาของ Harvard School of Public Health ให้ข้อมูลเพิ่มว่าการรับประทานโปรตีนจากสัตว์เนื้อแดง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อแดงที่ผ่านกระบวนการแปรรูป พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการเพิ่มโอกาสการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโอกาสการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดอื่น ในทางกลับกันการรับประทานโปรตีนจากเนื้อไก่ เนื้อปลา หรือถั่วสามารถลดความเสี่ยงเหล่านี้ได้



โปรตีนพืชและโปรตีนสัตว์ ส่งผลต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนต่างกันหรือไม่

โปรตีนเป็นโครงสร้างของกระดูก จากการศึกษา systematic review ของ National Osteoporosis Foundation ถึงความแตกต่างของแหล่งโปรตีนต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนพบว่า ผลการศึกษาไม่ได้มีการสนับสนุนการรับประทานโปรตีนจากพืช คือโปรตีนถั่วเหลือง ว่ามีประโยชน์ต่อกระดูก ในแง่ของความหนาแน่นของมวลกระดูก (BMD) องค์ประกอบของแร่ธาตุในกระดูก (BMC) และกระดูกหักมากกว่าโปรตีนจากสัตว์อย่างมีนัยสำคัญ ในแง่ของปริมาณที่โปรตีนที่รับประทานยังไม่มีผลการศึกษาที่แน่ชัด บางรายงานกล่าวว่าการรับประทานโปรตีนในปริมาณสูงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก แต่บางรายงานก็ให้ข้อมูลว่าการรับประทานโปรตีนในปริมาณสูงนั้นช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูกและเพิ่มความแข็งแรงของของกระดูกโดยรวม

แม้ว่าโดยสรุปแล้ว ยังไม่มีการลงความเห็นชัดเจนว่าโปรตีนจากสัตว์นั้นดีไปกว่าโปรตีนจากพืช สำหรับคนที่ต้องการรักษามวลกระดูก และยังไม่แน่ใจว่าโปรตีนประเภทไหนที่ช่วยตอบโจทย์ได้ แนะนำอาหารเสริมโปรตีนจากนมวัว ที่ให้โปรตีนที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย อย่างเวย์โปรตีน วูฟเวอร์ลีน ที่ได้คัดแยกสารอื่นๆ ที่ไม่จำเป็นต่อร่างกายออกเพื่อให้ได้โปรตีนแบบเน้นๆ 100% ช่วยลดความเสื่อมของมวลกล้ามเนื้อ , ช่วมเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย , ช่วยทำให้มวลกระดูกแข็งแรง อาหารเสริมโปรตีนเหมาะสำหรับทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เริ่มมีการเสื่อมสภาพของมวลกล้ามเนื้อ จึงจำเป็นต้องได้รับอาหารเสริมที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพสูงสุด


ประโยชน์เน้นๆ ของ L-CARNITINE

ไม่ผอมสักที ต้องอ่าน!!

ออกกำลังกายตามรูปร่าง

สนใจรับเคล็ดลับลดน้ำหนัก เพิ่มกล้าม เพิ่มเติมได้ที่

Facebook : WHEYWWL

Instagram : wheywwl

Twitter : WheyWWL Official

Youtube : WHEYWWL Official

บทความที่น่าสนใจ

เพิ่มเติม