หักโหมออกกำลังกาย ส่งผลร้ายกว่าที่คิด
ออกกำลังกาย 8 เม.ย 65

ปฏิเสธไม่ได้ว่า การออกกำลังกายนั้นมีประโยชน์ แต่การหักโหมเกินไป ก็อาจส่งผลร้ายถึงสุขภาพได้ เช่น หายใจไม่ทัน ปวดเมื้อยกล้ามเนื้อหนัก เวียนหัว ตลอดจนทำให้อารมณ์แปรปรวนได้
มือใหม่ เริ่มต้นออกกำลังกาย!?
สำหรับมือใหม่ เมื่อเริ่มออกกำลังกายจะรู้สึกเหนื่อยเร็วกว่าปกติ ดังนั้น ให้เริ่มออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาแบบเบา ๆ ก่อน เช่น
- ทำงานบ้าน = รดน้ำต้นไม้ ,ล้างรถ ,กวาดบ้านถูบ้าน
- ขี่จักรยานเล่น
- เดินออกกำลังกาย ในสถานที่ใกล้ ๆ แทนการใช้รถ
- เล่นกีฬา = แบดมินตัน หรือ ปิงปอง
- เต้นแอโรบิค ยืดเส้นยืดสาย
- วิ่งเบา ๆ สลับการเดิน
**ทำทุกวันตลอดระยะเวลา 2-3 เดือน จะเพิ่มความแข็งแรงของร่างกาย และทำให้ออกกำลังกายได้นานขึ้น**
วิธีสังเกตเมื่อออกกำลังกายมากไป!?
- หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติจนรู้สึกเหนื่อย
- หายใจเข้า – ออกรุนแรงขึ้น จนพูดไม่เป็นประโยค
- มีอาการเวียนหัวคล้ายจะเป็นลมระหว่างออกกำลังกาย
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และตามข้อต่าง ๆ หลังจากออกกำลังกาย
- กระหายน้ำมากเป็นพิเศษเวลาออกกำลังกาย
**หากมีอาการดังกล่าวแนะนำให้หยุดพัก 2 วัน และปรับระดับการออกกำลังกายลดลง**
ผลข้างเคียงจากการออกกำลังกายอย่างหนัก!?
- รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่กระปรี้กระเปร่า
- ภูมิคุ้มกันลดลง
- อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
- ปวดเมื่อยทรมาน โดยหรือเฉพาะส่วนที่ออกกำลังกายอย่างหนัก
- เจ็บปวดกล้ามเนื้อ เพราะไม่ได้รับการเหยียวยา หรือซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
- รู้สึกกังวลหากไม่ได้ออกกำลังกาย
ผลร้ายแรงจากการออกกำลังกายมากไป!?
- ร่างกายมีความผิดปกติ การเจริญเติบโตไม่เต็มที่ หรืออาจหยุดเจริญเติบโต
- รูปร่างภายนอกดูดี แต่ระบบภายในเสียหายหนัก เช่น กล้ามเนื้อฉีกขาด สำหรับผู้หญิงประจำเดือนอาจมาไม่สม่ำเสมอ
- ในกรณีที่ทานเวย์โปรตีนควบคู่ออกกำลังกาย หากไม่ควบคุมสารอาหารให้มีความสมดุล อาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร และรับโปรตีนมากเกินไป ส่งผลให้ตับกับไตทำงานหนัก
- กล้ามเนื้อบริเวณที่ออกกำลังกายอาจเกิดอาการบาดเจ็บ หากไม่หยุดทำการรักษา อาจถึงขั้นพิการ และใช้งานไม่ได้ เช่น กล้ามเนื้อหัวไหล่ นิ้วมือ หัวเข่า ข้อศอก ข้อเท้า เอ็นร้อยหวาย ฯลฯ
- อาจเป็นการกระตุ้นโรค ให้กำเริบเร็วขึ้น เช่น โรคหัวใจ เป็นต้น
ออกกำลังกายให้พอดีมีประโยชน์
การออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นประจำ ย่อมได้รับประโยชน์ที่หลากหลายต่อสุขภาพ ดังนี้
- ช่วยควมคุมน้ำหนัก – การออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ จะเกิดกระบวนการเผาผลาญ ทำให้น้ำหนักตัวลดลงได้ แต่อีกปัจจัยสำคัญคือ ทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หรือทานเวย์โปรตีนควบคู่ก่อน - หลังทำกิจกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลดน้ำหนักอย่างชัดเจน
- ต้านโรค และปัญหาสุขภาพ – การออกกำลังกายเป็นประจำ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ป้องกันกลุ่มอาการเมตาบอลิก (Metabolic Syndrome) เช่น โรคซึมเศร้า ข้ออักเสบ และโรคมะเร็งต่าง ๆ
- เพิ่มพละกำลัง – เมื่อหมั่นออกกำลังกายบ่อย ๆ จะส่งผลให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และทนทานมากขึ้น ทำให้สะดวกต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้ เช่น ยกของได้หนักขึ้น รู้สึกเหนื่อยน้อยลง และช่วยเพิ่มความมั่นใจในตัวบุคคล
- ดีต่อใจ – ทุกการเคลื่อนไหวร่างกาย หรือออกกำลังกายเบา ๆ ก่อนเข้านอน จะกระตุ้นระบบประสาทให้ผ่อนคลาย ส่งผลให้นอนหลับสบาย อารมณ์แจ่มใส สดชื่นตลอดคืน
วัย..?..ออกกำลังกายอย่างไรให้เหมาะสม
- วัยเด็ก – ออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เน้นความสนุกสนาน อย่างน้อยวันละ 1-2 ชั่วโมง/วัน เช่น การวิ่งไล่จับ กระต่ายขาเดียว เพื่อให้ร่างกายเกิดความยืดหยุ่น และเพิ่มพัฒการด้านการเคลือนไหว หรือทรงตัว
- วัยรุ่น – เน้นออกกำลังกายที่หลากหลาย แต่เลือกให้เหมาะกับสภาพร่างกาย เช่น เล่นอุปกรณ์ในฟิตเนส เพื่อเป็นการเสริมสร้าง กล้ามเนื้อ และความแข็งแรงให้ทุกส่วนของร่างกาย ออกกำลังกายอย่างน้อย 3-4 ครั้ง/สัปดาห์
- วัยผู้ใหญ่ – แนะนำให้เล่นกีฬาที่เน้นความเพลิดเพลิน เล่นได้สม่ำเสมอ เช่น ปั่นจักรยาน วิ่งจ๊อกกิ้ง และการบริหารแบบยืดส่วนต่าง ๆ *ก่อนออกกำลังกายทุกครั้งต้องมีการวอร์มกล้ามเนื้อ* จะช่วยให้ร่างกายยืดหยุ่น และได้ประโยชน์จากการออกกำลังกายอย่างเต็มที่ ออกกำลังกายอย่างน้อย 3-4 ครั้ง/สัปดาห์
- วัยชรา – เหมาะกับกิจกรรมที่เคลือนไหวได้ง่าย ช่วยให้ผ่อนคลายร่างกาย เช่น ไทเก๊ก โยคะ เพื่อกระตุ้นระบบการไหลเวียนของเลือด และยืดกล้ามเนื้อให้เกิดการทำงาน สำหรับวัยนี้ควรกำหนดระยะเวลาออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย
วิธีแก้อาการเสพติดออกกำลังกายได้ด้วยตนเอง!?
- ปรับแผนการออกกำลังกาย โดยเปลี่ยนความคิดว่าการฝึกที่มีคุณภาพดีกว่าการฝึกบ่อย ๆ
- หางานอดิเรกทำ เพื่อเบนความสนใจไม่ให้คิดเรื่องออกกำลังกายมากเกินไป
- ออกกำลังกายกับครูฝึกหรือเทรนเนอร์ เพื่อช่วยจัดตารางเวลาการออกกำลังกาย และวันพักที่เหมาะสม
- รับประทานอาหารในปริมาณที่เพียงพอต่อพลังที่ใช้ในแต่ละวัน
- ทานเวย์โปรตีนเสริม เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อฉีกขาด และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอจากการออกกำลังกาย
- ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพออย่างน้อย 7-8 แก้ว/วัน
- เลี่ยงการออกกำลังกายในที่ที่อุณหภูมิร้อนหรือเย็นเกินไป
- พักร่างกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน
- นอนพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง/วัน
ฉะนั้นควรคำนึงถึงเป้าหมายการออกกำลังกาย ให้เหมาะกับทุกเพศ ทุกวัย เพราะมีประโยชน์ต่อร่างกาย และการเจริญเติมโต หากยังหักโหมออกกำลังกายมากเกินไป อาการข้างเคียงต่าง ๆ อาจเป็นผลร้ายที่ตามมา
7 วิธีดูแลสุขภาพ ลดความเครียด ให้เหมาะยุคสมัย
กำจัดขยะสมอง ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ และโรคทางระบบประสาท
วิตามิน และแร่ธาตุที่เหมาะทุกช่วงวัย