เวย์โปรตีนคุณภาพสูง ยอดขายอันดับ 1 ของประเทศ | ติดตามเราบน

ภาษาไทย | English สมัครสมาชิก | เข้าสู่ระบบ

กำจัดขยะสมอง ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ และโรคทางระบบประสาท

สุขภาพ 25 มี.ค 65



โรคอัลไซเมอร์ และโรคทางระบบประสาท สาเหตุหนึ่งเกิดจาก “ขยะสมอง” ระหว่างที่เรานอนหลับ จะมีสารจากความเสื่อม และถดถอยการทำงานในโครงสร้างของเนื้อเยื่อสมอง เป็นตัวจุดชนวนโรคอัลไซเมอร์ และโรคระบบประสาท ซึ่งพบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ


ขยะสมอง เป็นการเรียกรวม ๆ ของสารที่เกิดขึ้นในร่างกายจากความเสื่อม และถดถอยการทำงานหรือโครงสร้างของเนื้อเยื่อของสมอง ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ ได้แก่ แอมีลอยด์ บีตา (Amyloid Beta) และโปรตีนเทา (Tau Proteins) สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ และโรคระบบประสาทอื่น ๆ


กำจัดขยะสมอง ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ และโรคในระบบประสาท

ก่อนอื่นต้องตั้งนาฬิกาชีวิตใหม่ เริ่มจากนอนหลับให้เป็นเวลา นอนตอนกลางคืน ตื่นตอนเช้า เพื่อให้สมองได้พักผ่อนและกำจัดขยะของเสียที่เกิดจากสารแอมีลอยด์ออกไปจากสมอง การหลับลึกช่วยให้ร่างกายสดชื่นในตอนเช้า และดีในระยะยาวช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อม ที่สำคัญเสริมสร้างการเจริญเติบโต การซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และกำจัดขยะสมองได้

มีงานวิจัยในต่างประเทศจากมหาวิทยาลัยสโตนีบรูค (Stony Brook University) ประเทศสหรัฐอเมริกาเผยว่า ระบบกลิมพาติก (Glymphatic System) ทำงานคล้ายกับระบบต่อมน้ำเหลืองของร่างกาย เพื่อกำจัดขยะในสมอง เช่น แอมีลอยด์ บีตา (Amyloid Beta) และโปรตีนเทา (Tau Proteins) ที่เป็นตัวจุดชนวนโรคอัลไซเมอร์ และโรคระบบประสาทอื่น ๆ

เพราะฉะนั้น การนอนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนทุกเพศทุกวัย เนื่องจากในชีวิตประจำวัน สมองคนเรามีการใช้งาน มีการสั่งงาน ใช้ความคิด ใช้ความจำ รวมทั้งควบคุมเรื่องการเคลื่อนไหวของร่างกาย ทำให้เซลล์มีการใช้งานตลอดเวลา เกิดของเสียขึ้นในทุกวัน แต่ละวันก็จะเกิดการสะสมในสมอง การนอนหลับจึงเปรียบเสมือนการกำจัดขยะในสมองให้หมดไป และการหลับลึกทำให้ตื่นเช้ามาสมองสดชื่น พร้อมทำงานตลอดทั้งวัน



วิธีนอนหลับให้ลึก

สำหรับใครที่มีปัญหาเรื่องการนอนหลับไม่สนิท กึ่งหลับ กึ่งตื่น ทำให้เสียสุขภาพได้ ต้องหมั่นหาเวลาว่างออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละครึ่งชั่วโมง แต่ไม่ควรออกกำลังกายก่อนนอน ไม่งีบหลับตอนกลางวัน หรือตอนเย็น เพราะจะทำให้นอนหลับยากตอนกลางคืน และสมองเรียนรู้ผิด ๆ ว่า ร่างกายได้นอนหลับพักผ่อนไปแล้ว หรือหากอยากงีบหลับ ให้นั่งงีบหลับ แต่ไม่ให้อยู่ในท่านอน และไม่เกิน 30 นาที และต้องทำตามวิธีเหล่านี้

  • งดเครื่องดื่ม ชา กาแฟ ช็อคโกแลต และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน รวมถึงแอลกอฮอร์ และบุหรี่
  • งดอาหารมื้อดึก และไม่ควรรับประทานน้ำเปล่ามากในช่วงค่ำ ปกติร่างกายไม่หลั่งน้ำย่อยตอนกลางคืนอยู่แล้ว
  • งดดูหนัง พูดคุยเรื่องเครียด เพราะจะไปกระตุ้นจิตใจให้ตื่นเต้น ลุ้น และเคร่งเครียดมากเกินไป
  • ไม่เล่นอุปกรณ์มือถือ สมาร์ทโฟนก่อนเข้านอน 30 นาที ยิ่งสายตาได้รับแสงสีฟ้าจากมือถือ ทำให้ร่างกายหลั่งสารเมลาโตนิน ส่งผลให้หลับยาก
  • จัดเวลาสำหรับการพักผ่อนให้เป็นเวลา นั่งสมาธิ สวดมนต์ ให้จิตใจสบาย ผ่อนคลาย
  • ปรับห้องนอนให้เหมาะสม อุณหภูมิ แสง ความนุ่มสบาย
  • ระหว่างนอนหยุดคิดเรื่องเครียด ไม่สบายใจ แต่ถ้ามีงานที่ค้างคาใจ ให้เขียนจดบันทึกสิ่งที่ไม่สบายใจลงบนกระดาษไว้ แล้วค่อยมานั่งเคลียร์ในตอนเช้า
  • ตั้งนาฬิกาปลุกตื่นตอนเช้าให้เป็นเวลา เพราะจะทำให้วงจรการนอนหลับสมดุล แนะนำตื่นก่อน 8 โมงเช้า เพื่อให้ร่างกายได้รับอากาศที่สดชื่น

ทั้งนี้ หากลองทำตามทุกวิธีข้างต้น แล้วยังไม่สามารถนอนหลับได้ลึกอย่างที่คิดไว้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอน เพื่อเข้ารับการตรวจวิเคราะห์คุณภาพการนอน (Sleep Test) และมองหาแนวทางการรักษาที่ถูกต้องต่อไป


“โปรตีนทางเลือก” เพื่อสุขภาพปี 2022
ไขมันร้ายสารพัดโรค แต่ก็มีไขมันดีสารพัดประโยชน์
บำรุงสุขภาพ อาหาร 3 ช่วงวัย

สนใจรับเคล็ดลับลดน้ำหนัก เพิ่มกล้าม เพิ่มเติมได้ที่

Facebook : WHEYWWL

Instagram : wheywwl

Twitter : WheyWWL Official

Youtube : WHEYWWL Official

บทความที่น่าสนใจ

เพิ่มเติม