กินอาหารหลากสี มีข้อดีหลากหลาย
อาหาร 28 ต.ค 63
หากจะกล่าวถึงสิ่งที่มีหลากหลายสีสัน หลายๆคนอาจจะนึกถึง เสื้อผ้า กระเป๋า หรือ ขนมต่างๆ ที่มีหลากหลายสี สีต่างๆล้วนทำมาเพื่อดึงดูดหรือรองรับทุกความต้องการของผู้ซื้อ แต่ในวันนี้เราจะมาพูดถึง "อาหารหลากสี" ซึ่งอาหารหลากสีที่เราจะพูดถึงในวันนี้นั้นจะเป็นอาหารที่มีสีมาจากธรรมชาติ ไม่ได้มีการแต่งเติมสี หรือ สกัดมาจากสารสังเคราะห์ใดๆ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นผักและผลไม้
สีแต่ละสีจะมีความหมายแตกต่างกันเมื่ออยู่ในสิ่งต่างๆ เช่น สีแดง หากอยู่ในงาน ศิลปะ จะสื่อถึง ความเร่าร้อน พลังอำนาจ กลับกันหากสีแดงอยู่ ในป้ายต่างๆ มักให้ความหมาย เกี่ยวกับ ความอันตราย หรือ การห้ามในบางสิ่ง แต่สำหรับสีต่างๆในอาหารหลากสีวันนี้นั้น จะหมายถึง สารอาหารและคุณประโยชน์ที่มีอยู่ในนั้น ว่าแล้ว เราก็ไปดูกันเลยดีกว่า ว่าอาหารหลากสีที่ว่านั้นมีสีอะไรบ้าง แต่ละสีหมายถึงสารอาหารอะไรและมีประโยชน์ต่อเราอย่างไรกันบ้าง จะได้เลือกรับประทานกันได้อย่างถูกต้อง
สีแดง
สารสำคัญ : ไลโคปีน (Lycopene) & แคปไซซิน (Capsaicin)
ไลโคปีน (Lycopene) = สารต้านอนุมูลอิสระ พบมากในอาหารที่มี สีแดง
แคปไซซิน (Capsaicin) = สารที่อยู่ในไส้แกนกลางของพริก ช่วยให้พริกมีรสชาติ เผ็ดร้อน
ประโยชน์
- ชะลอความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย
- ป้องกันการเกิดริ้วรอย ทำให้ผิวดูอ่อนเยาว์
- ผิวขาว กระจ่างใส
- ป้องกันโรคต้อกระจก
- เสริมสร้างภูมิต้านทาน
- ยับยั้งการเกิดของเซลล์มะเร็ง โดยเฉพาะ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก
- บรรเทาอาการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อ
- ลดระดับไขมันไม่ดี (LDL-Cholesterol) ในเลือด
- ลดความดันโลหิต
อาหารที่มีสีแดง : พริกแดง หอมแดง กะหล่ำแดง กระเจี๊ยบแดง มะเขือเทศ พริกหยวกแดง เมล็ดทับทิม แตงโม แอปเปิลแดง ชมพู่ เชอร์รี่ บีทรูท สตรอเบอร์รี่ ทูน่า กุ้ง
สีส้ม
สารสำคัญ : เบต้าแคโรทีน (Beta-Carotene)
เบต้าแคโรทีน (Beta-Carotene) = สารตั้งต้นของวิตามิน A พบมากในอาหารที่มี สีส้ม
ประโยชน์
- บำรุงสายตา
- ช่วยให้มองเห็นได้ดีในที่มืด
- ลดความเสี่ยงต่อการเป็นต้อกระจก
- มีสารต้านอนุมูลอิสระ
- เพิ่มภูมิต้านทานโรค
- ป้องกันโรคมะเร็ง
- ป้องกันโรคหัวใจ
- กระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวเก่า
- สร้างเซลล์ผิวใหม่
- ป้องกันผิวจากรังสี UV
อาหารที่มีสีส้ม : แครอท ฟักทอง ส้ม มะม่วง มะละกอ แคนตาลูป มันส้ม ลูกพลับ โทงเทงฝรั่ง พริกหวานสีส้ม แซลมอน
สีเหลือง
สารสำคัญ : ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid)
ฟลาโวนอยด์ = วิตามินชนิดหนึ่ง ที่พบได้มากในอาหารที่มี สีเหลือง
ประโยชน์
- มีสารต้านอนุมูลอิสระ
- ป้องกันโรคมะเร็ง
- ชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์
- ช่วยเสริมความแข็งแกร่งในการออกกำลังกาย
- กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด
- ลดระดับไขมันในเลือด
- ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
- ผิวชุ่มชื่น ไม่หยาบกร้าน
อาหารที่มีสีเหลือง : มะนาว เลมอน เกรปฟรุต มะละกอ มะม่วง สับปะรด กล้วย ทุเรียน ขนุน ข้าวโพด พริกหยวกเหลือง ผงกะหรี่ ขมิ้น มิโซะ
สีเขียว
สารสำคัญ : คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll)
คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) = สารประกอบที่พบได้ พืช (ส่วนที่มีสีเขียว)
ประโยชน์
- ชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์ในร่างกาย
- เพิ่มความสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ให้กับร่างกาย
- บำรุงผิวให้ชุ่มชื่น
- ป้องกันผิวหยาบกร้าน
- ลดรอยคล้ำรอบดวงตา
- เสริมภูมิต้านทานโรค
- ป้องกันตับอักเสบ ไตวาย
- ลดอาการภูมิแพ้ หอบหืด แพ้อากาศ
- ลดกรดในกระเพาะอาหาร ลำไส้
- ช่วยระบบขับถ่าย
- ล้างสารพิษ
- บรรเทาอาการปวดประจำเดือน
อาหารที่มีสีเขียว : กีวี แอปเปิลเขียว องุ่นเขียว อะโวคาโด มัทฉะ บรอกโคลี มะระ แตงกวา ใบเหลียง ใบปอ ผักบุ้ง ผักชี กวางตุ้ง ผักโขม ตำลึง สาหร่าย พริกหยวกเขียว และผักใบเขียวทุกชนิด
- บรรเทาอาการปวดศรีษะ ไมเกรน
สีม่วง
สารสำคัญ : แอนโทไซยานิน (Anthocyanin)
แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) = สารสี ที่พบใน พืชที่มีสีม่วง หรือ น้ำเงิน
ประโยชน์
- บำรุงสมองและความจำ
- บำรุงสุขภาพของหัวใจและหลอดเลือด
- กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด
- ลดคอลเลสเตอรอลในเลือด
- ช่วยในการลดน้ำหนัก
- ลดอาการเหนื่อยล้าหลังออกกำลังกาย
- บรรเทาความเหนื่อยล้าของดวงตา
- ป้องกันผิวหย่อนคล้อย
- ลดอัตราการเกิดโรคหัวใจ
อาหารที่มีสีม่วง : องุ่น ลูกเกด เสาวรส ลูกพรุน ลูกหม่อน ลูกไหน บลูเบอรี่ แบล็กเบอรรี่ ราสเบอรี่ เผือก มันเทศสีม่วง ข้าวเหนียวดำ ถั่วดำ มะเขือม่วง หอมใหญ่สีม่วง ดอกอัญชัน
สีขาวและสีน้ำตาล
สารสำคัญ : ไอโซฟลาโวน (Isoflavone)
ไอโซฟลาโวน (Isoflavone) = สารอาหารในพืช หรือ พบได้ใน ถั่วเหลือง และอาหารที่ผลิตจากถั่วเหลือง
ประโยชน์
- ชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์
- บำรุงกระดูก ป้องกันภาวะกระดูกพรุน
- ป้องกันโรคหัวใจ
- ช่วยลดไขมันในเลือด
- ช่วยลดน้ำหนัก และลดภาวะลงพุง
- ช่วยให้ผิวพรรณกระจ่างใส
- เพิ่มปริมาณแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อลำไส้
- ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมะเร็ง
อาหารที่มีสีขาวและน้ำตาล : เต้าหู้ น้ำเต้าหู้ ถั่วเหลือง นมถั่วเหลือง เต้าเจี้ยว ซอสถั่วเหลือง นัตโตะ ถั่วลิสง ถั่วงอก ถั่วอื่นๆ มะพร้าว กระเทียม แห้ว มันแกว หัวไช้เท้า หัวหอมใหญ่ เห็ดเข็มทอง เห็ดหอม กะหล่ำขาว รากบัว ปลาเนื้อขาว
รู้แบบนี้กันแล้ว อย่าลืม ทานอาหารให้ครบทุกสีกันนะ ที่สำคัญควรทานอาหารให้สมดุลกันทุกสี ไม่หนักไปที่สีใดสีหนึ่งมากจนเกินไป เพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ อย่าลืมตรวจเช็คจานอาหารของคุณในมื้อหน้าด้วย ว่ามีครบทุกสีหรือเปล่า หากทานได้ครบทุกสี ในปริมาณที่เหมาะสม และทำเป็นได้เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เราเชื่ออย่างยิ่งเลยว่ามันจะช่วยเสริมให้คุณมีสุขภาพที่ดี ห่างไกลโรคภัยต่างๆ และยังเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ช่วยให้แข็งแรงตั้งแต่ภายในสู่ภายนอกกันไปเลย
ไม่กินผัก เสี่ยง 4 โรค โอกาสเสียชีวิตสูง!
8 เมนูลดพุง บำรุงผิวพรรณ ของชาววัย 30+!
5 ธัญพืชทรงพลังของโลกแห่งการลดน้ำหนักที่คุณควรลอง!