เวย์โปรตีนคุณภาพสูง ยอดขายอันดับ 1 ของประเทศ | ติดตามเราบน

ภาษาไทย | English สมัครสมาชิก | เข้าสู่ระบบ

อาการปวดหลัง สัญญาณเตือนของความผิดปกติ

สุขภาพ 5 ก.พ 64



อาการ ”ปวดหลัง” นับเป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่าร่างกายเรานั้น กำลังมีสิ่งผิดปกติ ไม่ว่าจะปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่ หรือปวดเมื่อยตามร่างกาย



สาเหตุของอาการ “ปวด”

อาการปวดเมื่อยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปวดคอ ปวดหัว ปวดไหล่ ปวดขึ้นไปกะโหลกศีรษะ ปวดเข้ากระบอกตา ปวดบ่า ปวดสะบัก ปวดหลัง ปวดเอว ปวดก้น ปวดขา ปวดเข่า หรือปวดไปจนถึงข้อเท้า ฝ่าเท้าหรือที่เรียกรองช้ำ ว่ามีสาเหตุมาจาก 2 ประการคือ

10% ของอาการปวดมาจากโรค เช่น มะเร็ง โรคไต โรคนิ่วในถุงน้ำดี เป็นต้น อาการปวดที่เกิดจากโรค ส่วนใหญ่มักไม่มีสาเหตุที่ทำให้ความปวดชัดเจน คิดจะปวดเมื่อไหร่ก็ปวด เช่น มักปวดในเวลากลางคืน จนทำให้ตื่น หรือแม้นั่งพักเฉยๆ ก็ปวด

90% มาจากความผิดปกติของโครงสร้างร่างกาย อาการปวดเกิดจากโครงสร้างร่างกายที่ผิดปกติ จะมีกลไกบ่งบอกอาการปวดที่ชัดเจน เช่น นั่งก้มทำงานนานโดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ ก็จะรู้สึกปวด หากได้นอนพัก ก็จะหาย อาการเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความไม่สมดุลของโครงสร้างร่างกายอย่างชัดเจน



วิธีแก้อาการปวดเบื้องต้น

อาการปวดเมื่อยสาเหตุหนึ่งมากจากการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะพนักงานประจำออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานเป็นเวลานาน ซึ่งวิธีแก้มีดังนี้

  • ไม่นั่งไขว่ห้าง หรือกางขามากจนเกินงาม
  • นั่งหลังตรง ไหล่ไม่ห่อ คอไม่ยื่น ฝืน เปิดไหล่-ดึงสะบักผลักไปด้านหลังตลอดเวลา (ที่นึกได้)
  • นั่งลงน้ำหนักตรงกลางก้นสองข้างให้เท่ากัน ป้องกันไม่ให้กระดูกสันหลังคด
  • ขยับตัวบ่อยๆ นั่งนิ่งๆ ให้น้อยที่สุด เคลื่อนไหวให้มาก ลุกเดินได้ให้เดิน บิดตัวได้ให้บิด เหยียดแขนได้ให้เหยียด ไม่ให้กล้ามเนื้อต้องเกร็งอยู่ท่าเดิมนานๆ เพราะจะทำให้เลือดไม่ไหลเวียน ของเสียคั่ง กลายเป็นอาการปวด
  • เลื่อนตัวเข้าใกล้คีย์บอร์ด หรือโต๊ะเขียนงาน เพื่อป้องกันการก้มคอ ห่อไหล่ หลังโก่ง
  • ไม่ตั้งแก้วน้ำที่โต๊ะทำงาน ป้องกันการนั่งแช่ และจะได้ขยับเคลื่อนไหวร่างกาย ไปกินน้ำได้บ่อยๆ ถือเป็นการเปลี่ยนอิริยาบถ
  • ลุก-เดินบ้าง พยายามเดินเปิดไหล่หมุนแขน ออกแรงประสานมือเหยียดไปด้านหลัง และยืดอก ยกและยืดตัวหายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ

การแก้ไขปัญหาอาการปวดเหล่านี้ สามารถป้องกันอาการปวดเมื่อยได้จริง ดังนั้น ลองเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตประจำตัวใหม่สักนิด ขยับร่างกายขณะทำงานบ้าง อาการปวดเมื่อยจะทุเลาลง ช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคแทรกซ้อน หรือปวดเมื่อยระยะยาวได้ด้วย


ลดน้ำหนัก! ห้ามกิน 8 อาหารนี้หลังออกกำลังกาย
ชาบู เมนูโปรดเสี่ยงโรค ต้องรู้วิธีกิน!!
ก่อนลุยงานวิ่ง ต้องรู้อะไรบ้าง

สนใจรับเคล็ดลับลดน้ำหนัก เพิ่มกล้าม เพิ่มเติมได้ที่

Facebook : WHEYWWL

Instagram : wheywwl

Twitter : WheyWWL Official

Youtube : WHEYWWL Official

บทความที่น่าสนใจ

เพิ่มเติม